โครงสร้างหลักสูตร วิชาฟิสิกส์ ตามหลักสูตรฯ 2551

 
............... ...............หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับสาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ และ สาระที่ 5 พลังงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาฟิสิกส์ จำนวน 16 ตัวชี้วัด สำหรับนำไปสู่การออกแบบการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานฟิสิกส์ ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนเป็นพื้นฐาน เพื่อให้สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ในการดำรงชีวิตหรือเตรียมความพร้อมให้คุ้นเคยกับวิชาฟิสิกส์ ซึ่งจะได้ศึกษาในรายวิชาเพิ่มเติมฟิสิกส์ต่อไป  อีกทั้ง  ทาง สสวท.ได้มีการนำเสนอผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ สำหรับ รายวิชาเพิ่มเติมฟิสิกส์  สำหรับนำไปสู่การออกแบบการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมฟิสิกส์ ที่ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ต้องใช้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์  ทั้งนี้ สถานศึกษาสามารถจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและตามจุดเน้นของสถานศึกษา
             ในการกำหนดรายวิชาและจำนวนหน่วยกิต สถานศึกษาอาจใช้โครงสร้างเวลาเรียนที่แบ่งรายวิชาออกเป็นรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ 1 รายวิชา และรายวิชาเพิ่มเติม ฟิสิกส์ 5 รายวิชา  ดังนี้

รายวิชาพื้นฐาน  
   รายวิชาพื้นฐาน (ฟิสิกส์).....      1.5  หน่วยกิต .............   3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

รายวิชาเพิ่มเติม 
             ฟิสิกส์ 1 ......                       2   หน่วยกิต            ......4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
             ฟิสิกส์ 2 ......                       2   หน่วยกิต  ......          4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
             ฟิสิกส์ 3  ......                      2   หน่วยกิต    ......        4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
             ฟิสิกส์ 4  ......                      2   หน่วยกิต    .......       4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
             ฟิสิกส์ 5   ......                     2   หน่วยกิต   ......         4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม สถานศึกษาอาจปรับลดจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาได้ตามความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา 

Comments

comments