การทดลอง: การหักเหของแสงผ่านเลนส์นูน

คลิปวีดิทัศน์, แสงและทัศนอุปกรณ์

 

จุดประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะวัตถุ ระยะภาพ และความยาวโฟกัสของเลนส์นูน

วิธีทดลอง

     ตอนที่ 1 การหาความยาวโฟกัสของเลนส์นูน

  1. จัดเลนส์นูนและฉาก ดังรูป
  2. เลื่อนเลนส์นูนไปที่ตำแหน่งปลายสุดของราง
  3. จัดเลนส์นูนให้รับแสงจากวัตถุที่อยู่ไกลจากเลนส์ประมาณ 100 เมตร
  4. เลื่อนฉากจนได้ภาพวัตถุคมชัดที่สุดบนฉาก เพื่อวัดความยาวโฟกัสของเลนส์นูน

11 เลนส์นูน01

รูป การจัดเครื่องมือสำหรับหาความยาวโฟกัสของเลนส์นูน

     ตอนที่ 2 การหาความสัมพันธ์ระหว่างระยะวัตถุ ระยะภาพ และความยาวโฟกัสของเลนส์นูน

  1. วางกล่องแสงไว้ที่ปลายข้างหนึ่งของไม้เมตร      
  2. วางเลนส์บนไม้เมตรให้ห่างจากเทียนไขไกลกว่าความยาวโฟกัสเล็กน้อย       
  3. เลื่อนฉากไปมาจนได้ภาพของเปลวเทียนบนฉากคมชัดที่สุด      
  4. วัดระยะวัตถุ (11 เลนส์นูน03) และระยะภาพ (11 เลนส์นูน04) บันทึกค่าที่ได้ในตาราง     
  5. เลื่อนเลนส์ให้เทียนไขเป็นระยะต่างๆ อีก 4 ค่า ทำการทดลองซ้ำกับที่ได้ทำในข้างต้น จะได้ 11 เลนส์นูน03 และ 11 เลนส์นูน04 อย่างละ 5 ค่า
  6. คำนวณค่าของ 11 เลนส์นูน06 และ 11 เลนส์นูน07  พร้อมทั้งบันทึกลงตาราง จากนั้นเขียนกราฟระหว่าง 11 เลนส์นูน06 กับ 11 เลนส์นูน07 โดยให้ 11 เลนส์นูน06  อยู่บนแกนยืน และ  11 เลนส์นูน07 อยู่บนแกนนอน

11 เลนส์นูน02

รูป การจัดอุปกรณ์สำหรับหาความยาวโฟกัสของเลนส์นูน

วีดิทัศน์การทำการทดลอง

คำถามชวนคิด

  • กราฟที่ได้มีลักษณะอย่างไร ถ้าต่อเส้นกราฟให้ตัดแกนทั้งสอง จุดตัดบนแกนทั้งสองมีค่าเท่ากันหรือไม่
  • ความชันของกราฟมีค่าเท่าใด
  • จุดตัดบนแกนยืนมีค่าเท่ากับ หรือไม่
  • จากกราฟนี้สรุปความสัมพันธ์ระหว่าง 11 เลนส์นูน0311 เลนส์นูน04 และ 11 เลนส์นูน09 ได้อย่างไร

 

Comments

comments